
สะเทือนวงการสีกากีอีกครั้ง เหตุเกิดที่จังหวัดยโสธร เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตั้งด่านลอยตรวจใบขับขี่นักเรียนหญิง ชั้น ม. 5 พบไม่มีใบขับขี่ และไม่สวมหมวกกันน็อค จึงเรียกค่าปรับ 2000 บาท แต่เด็กไม่มีจ่าย จึงใช้อำนาจในทางมิชอบ ล่อลวงเด็กนักเรียนหญิงไปขืนใจ ซึ่งจุดเกิดเหตุไม่ไกลจากสถานีตำรวจ ทำให้ผู้ปกครองของเด็กนักเรียนหญิง เข้าแจ้งความเพื่อเอาผิดกับนายตำรวจท่านนั้น ซึ่งทราบในภายหลังว่ามียศเป็น ร้อยตำรวจเอก ของ สภ. ป่าติ้ว จังหวัดยโสธร เนื่องจากผู้ปกครองของเด็กนักเรียนหญิง กลัวไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงแจ้งร้องทุกข์เข้าไปที่เพจ สายไหมต้องรอด เพื่อขอความช่วยเหลืออีกทาง
เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2567 เพจสายไหมต้องรอด ได้แชร์โพสต์ เล่าเหตุการณ์ โดยระบุข้อความว่า มีนักเรียนหญิงชั้น ม. 5 ขับขี่รถจักรยานยนต์ ไปเรียนกับน้องในช่วงเช้า ระหว่างทางถูกตำรวจเรียกตรวจ ซึ่งไม่ได้มีการตั้งด่านแต่อย่างใด และเป็นถนนสายหลัก ที่อยู่ในตัวเมือง นักเรียนหญิงไม่ได้สวมหมวกกันน็อค และไม่มีใบขับขี่ ตำรวจเรียกปรับเป็นจำนวนเงิน 2000 บาท แต่เด็กหญิงไม่มีจ่าย และพยายามโทรศัพท์ไปหาผู้ปกครอง แต่เนื่องด้วยผู้ปกครองไม่ได้รับสาย จึงถูกพาตัวไปข่มขืนข้างโรงพัก โดยอ้างว่าหากไม่มีค่าปรับ จะต้องมีอะไรมาแลกเปลี่ยน ซึ่งจุดก่อเหตุเป็น กศน. ที่อยู่ห่างสถานีตำรวจ 200 เมตร ที่ปิดทำการในวันนั้น
หลังจากที่ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติทราบเรื่อง ได้สั่งการให้ผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 3 เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง หากพบว่านายตำรวจกระทำความผิดจริง ให้ดำเนินคดีอาญาโดยเด็ดขาด ซึ่งหลังจากตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว พบว่านายตำรวจกระทำความผิดจริง จึงตั้งกรรมการสอบวินัยร้ายแรงให้ออกจากราชการไว้ก่อน พร้อมทั้งรอขยายผลดำเนินการต่อไป และย้ำเตือนกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จะต้องดำเนินคดีอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีการช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจอย่างแน่นอน และพร้อมที่จะให้ความคุ้มครองแก่ผู้เสียหาย จะให้ความเป็นธรรมกับเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งคดีดังกล่าวถือเป็นข่าวฉาว ของวงการตำรวจอีกครั้ง
ข้อกล่าวหาของนายตำรวจ ยศ ร้อยตำรวจเอก ถูกแจ้ง 2 ข้อหาหนัก พรากผู้เยาว์ อายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี เพื่อการอนาจาร ข่มขืนกระทำชำเรา โดยมีการขู่เข็ญโดยการประทุษร้าย หลังจากที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงพบว่า นายตำรวจกระทำความผิดจริง และพนักงานสอบสวน ได้พาตัวผู้เสียหายไปตรวจร่างกาย จึงให้ออกจากราชการไว้ก่อน ซึ่งถือเป็นข่าวที่ประชาชนให้ความสนใจ เพราะเกรงว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ผู้กระทำความผิดจะได้รับการช่วยเหลือ จนทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับความเป็นธรรม และเป็นคดีที่ประชาชน วิพากษ์วิจารณ์ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค อย่างมากมาย และไม่อยากให้เหตุการณ์นี้เกิดขึ้น ซ้ำแล้วซ้ำอีกในประเทศไทย